เป้าหมายหลัก

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เศษไม้ใบหญ้า มีค่าในตัวตน/ถั่ว ถั่ว ถั่ว

1.จิตศึกษาพัฒนาจิตใจน้อง ป .1

"ก้อนหินมีค่า"




                      ช่วงเช้าเข้าร่วมกิจกรรมจิตศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยครูต๋อยเป็นครูผู้สอน ครูต๋อยนำสิ่งเร้าใจคือกล่อง 1 ใบ มีผ้าคลุม แล้วให้เด็กลองทาย "อะไรเอ่ยอยู่ในกล่อง คะ?" ครูต๋อยถาม  " พี่กรรไกรครับ"  "พี่กระดาษค่ะ" "พี่กระต่ายค่ะ" นักเรียนตอบ ครูต๋อยรุกต่อ "รู้ได้อย่างไรค่ะ"....นักเรียนตอบได้น่ารักมาก  "มองทะลุกล่องครับ"   "เดาครับ"  พอเปิดผ้าคลุมออกมีเฮครับ เบาๆ ( 55555 )  เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ก้อนหิน กิ่งไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ ก้อนอิฐ  เมื่อนักเรียนทุกคนได้ครบแล้ว ครูต๋อยจะถามว่า"สิ่งที่นักเรียนได้เขาคืออะไรคะ มองดูแล้วคล้ายอะไรบ้าง ? คำถามนี้ถามนักเรียนทุกคน นักเรียนตอบตามความคิดของตัวเอง เช่น  งู เรือ มือ เลข 9 ฯลฯ (คำถามนี้น่าจะสร้างจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก) คำถามต่อมาคือ "แล้วสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับมนุษย์และโลกอย่างไรบ้าง"  และคำถามสุดท้ายคือ "หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ นักเรียนคิดว่าจะเป็นอย่างไร ? "  เป็นคำถามที่ฝึกให้นักเรียนได้คิด วิเคราะห์  อ่านแล้วลองเป็นนักเรียนชั้น ป.1 ช่วยตอบคำถามหน่อยนะครับ









                      จากนั้นนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นกันในห้องทำงานเพื่อหาข้อสรุปถึงสาระสำคัญของกิจกรรมนี้คือ "สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวมีคุณค่าในตัวของมันเอง" 








ภาระกิจภาคเช้าเสร็จแล้วครับ

2.การสอน PBL ป,2

เรื่อง ถั่ว


                 เริ่มจากการจัดกิจกรรม Body Scan คุณครูและเด็กนักเรียนนั่งเป็นรูปวงกลม เปิดเพลงคลอเบาๆปิดไฟบางดวงสร้างบรรยากาศ นักเรียนนอนราบกับพื้นเอาปลายเท้าออก พร้อมกับเล่าเรื่องปลาดาวบนชายหาดด้วยนำเสียงแผ่วเบา นุ่มนวล ประมาณ 20 นาที จึงเปิดไฟให้นักเรียนลุกขึ้นนั่งเพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป 







                  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครู นักเรียนสนทนาถึงเรื่องที่ช่วงปิดเรียนและการบ้านที่ครูให้นำมาจากบ้านก็คือเมล็ดถั่วชนิดต่างๆ จากนั้นจัดกลุ่มนักเรียนเพื่อไปสืบค้นจากคลิป VDO ในห้องฉาย เรื่องการเพาะถั่วงอกและระบำถั่วงอก จากนั้นเป็นการสนทนาซักถามร่วมกัน โดยครูผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นเด็กนักเรียนได้ดีมากๆ สามารถจูงใจเด็กนักเรียนให้สนใจในการเรียนรู้ รู้จักคิด วิเคราะห์ หาคำตอบได้อย่างดีเยี่ยมและยังเชื่อมโยงไปกลุ่มสาระอื่นๆ ได้อีกด้วย 











                   การดูแลเด็ก (เก็บเด็กรู้สึกว่าแรงไปนิดครับ) ครูใช้กิจกรรมง่ายๆ แต่ได้ผลดีมากๆ เช่นการใช้คำพูดเพียงไม่กี่คำอาทิ "พวกเราที่เป็นคนน่ารัก" "พี่คนที่เรียบร้อย" หรือการร้องเพลงประกอบท่าทาง "เพลงความเกรงใจ" "เพลงแมงมุมลาย"  และการนับจำนวนเป็นต้น ที่สำคัญคือครูให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อยู่ตลอดเวลา
                   เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเศษๆ สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้เ เกิดความเข้าใจวิธีการสอน ที่จะนำไปสร้างเด็กนักเรียนในโรงเรียนให้เป็นนักเรียนที่มีความคิด มีศักยภาพของความเป็นคน เป็นตัวของตัวเอง และมีความสุขกับการเรียนรู้อย่างแท้จริง

ขอบคุณครับ
ครูอั๋นครับ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น