พิธืชา茶道 sadō
ยอดเยี่ยมครับทุกคน นี่แหละครับครูแห่งศตวรรษใหม่
ถึงเวลาแปดโมงครึ่งครูเอ๋มาบอกว่าครูป้อม ครูกลอย และครูยิ้มรออยู่ห้องประชุมเล็ก คอมฯไม่ต้องเอาขึ้นไป มองหน้ากันครู่หนึ่ง คิดว่าต้องจดบันทึกอย่างเดียว แต่พอเดินเข้าห้องประชุมความหอมโชยมา ความเย็นปะทะร่างกาย บรรยากาศสบายๆ ครูป้อมเชิญชวนให้นั่ง ครูกลอย ครูยิ้มเสริฟชาโดยส่งผ่านมาทีละคนพร้อมการไหว้รับขอบคุณจนครบ เป็นขั้นตอนแรกของการถอดแแบบเรียนที่น่าสนใจยิ่ง บรรยากาศอยู่ในความสงบ ครูป้อมเชิญชวนจิบน้ำชา ก้อไม่กล้าเท่าไหร่นะครับตอนแรก ออกอาการเขินๆ ไงไม่รู้ ผ่านไปสักครู่ครูป้อมนำบทความของ "โจวชิงฉือ" ดารา ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกงมาอ่านด้วยน้ำเสียงนุ่มเบา ชวนฟัง ครั้งแรกก็ฟังไปเรื่อยๆ แต่ถึงตอนหนึ่งน้ำตาซึมครับ "ตั้งแต่ผมเป็นนักแสดงมา ครั้งนั้นผมแสดงได้ดีที่สุดในชีวิต".........จบบทความก้อชวนกันดื่มชาพร้อมกับถอดบทเรียนด้วยการสนทนาซักถามอย่างเป็นกันเอง น่าสนใจครับ
วันนี้อาหารกลางวันเป็น "ข้าวยำ" ซึ่งเป็นฝีมือของพวกเราทุกคนครูผู้หญิงมีหน้าที่จัดเตรียมเครื่องปรุงต่างๆ เยอะมากครับ ส่วนผมครูป้อมชวนไปเก็บใบชะพลูกับดอกอัญชัญ "น้ำบูดู" คุณแม่น้องโอเปิ๊ลเตรียมมาจากบ้าน อร่อยมากครับทั้งๆที่เพิ่งทานเป็นครั้งแรก
หลังจากอิ่มอร่อยกับข้าวยำน้ำบูดูภาคบ่ายนัดพบกับครูอ้อน ยังไม่ทราบหัวข้อแต่อยากให้เป็น Body Scan ที่สุด จะได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกาย ครูอ้อนจัดบรรยากาศเงียบ มืด สงบ วังเวง คล้ายๆกับโรงหนัง ดูบรรยากาศครับ
ครูอ้อนให้ดูคลิป VDO ผลงานนักเรียนหัวข้อ "หอยเชอร์รี่โกอินเตอร์ "และคลิป VDO จากประเทศจีนเกี่ยวกับการหาวัตถุดิบที่ดีที่สุดมาประกอบอาหาร มี เห็ด หน่อไม้ ปลา หมู เห็นแล้วอยากทาน ไม่ใช่ครับไม่อยากทานมากกว่า เพราะกว่าจะได้แต่ละชนิดมารับประทานได้ต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจ อย่างหนักหนาสาหัสจริงๆ และสรุปสุดท้ายของถอดบทเรียนวันนี้คือการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกิจกรรมใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ( ไวนะครับผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์ อย่างไม่รู้ตัว )
ซะโด หรือ ชะโด (ญี่ปุ่น: 茶道 sadō หรือ chadō ?) หรือ ชาโนะยุ (ญี่ปุ่น: 茶の湯 chanoyu ?) หรือพิธีชงชาญี่ปุ่น เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยการใช้เวลาอย่างสุนทรีย์ ประกอบด้วยการปรนนิบัติระหว่างการดื่มและการดื่มชาผงสีเขียวหรือมัทชา (matcha) การจัดการพบปะกันในวงสังคมเพื่อดื่มมัทชาได้แพร่หลายในบรรดาชนชั้นสูงนับตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 14 ต้นฉบับของพิธีชงชา รูปแบบของซะโดซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน เริ่มในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 ในระหว่างยุคโมโมยามะ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านชาคือ เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu)
ซะโดมีลักษณะที่เป็นแบบแผน ได้พัฒนาภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็นซึ่งจุดประสงค์สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดเรียบง่าย คือเพื่อทำวิญญาณให้บริสุทธิ์โดยการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติหัวใจแท้จริงของพิธีชงชาได้รับการบรรยายโดยคำต่าง ๆ เช่น ความสงบ ความเรียบง่าย ความสง่างาม และ สุนทรียศาสตร์แห่งความเรียบง่ายอันเข้มงวดและความยากจนที่ประณีต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจวชิงฉือ
ขอบคุณครับ
ครูอั๋นครับผม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น